วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Remote Sensing

Weather Radar 

เรียบเรียงโดย นายบัญชา ฅนชายขอบเมือง 
          
          เรดาร์ตรวจอากาศ Weather Radar หรือเรียกอีกอย่างว่า เรดาร์อุตุนิยมวิทยา Meteorological Radar   เป็น รดาร์ตรวจอากาศที่ใช้งานในทางอุตุนิยมวิทยา โดยทั่วไปปัจจุบันจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ 
     X-Band มีความยาวคลื่น  3 cm.
     C-Band มีความยาวคลื่น  5 cm.
และ S-Band มีความยาวคลื่น 10 cm.
หลักการของเรดาร์
ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ไมโครเวฟ) ออกไปในรูปแบบของ Pulses
คำนวณค่าสัญญาณคลื่นที่สะท้อนกลับ  ด้วยสมการเรดาร์เพื่อแสดงผล
      
                                         by USATODAY.COM


         ตามหลักการทำงานโดยทั่วไปของเรดาร์ เป็นการวัดค่าการสะท้อนกลับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งถูกออกไปในรูปแบบกลุ่มลูกคลื่นมีลักษณะเป็นช่วงๆ (Pulseเป็นขบวนต่อเนื่องกันไป เพื่อที่จะสามารถทำการตรวจวัดได้ง่ายขึ้น เมื่อคลื่นสะท้อนกลับมาจากการกระทบกับเป้าหมาย หรือวัตถุ  แต่เนื่องจากค่าพลังงานที่สะท้อนกลับนั้นจะมีค่าต่ำมาก ดังนั้นภาครับของเครื่องเรดาร์จะมีส่วนที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณให้มีกำลังสูงขึ้นเพื่อง่ายต่อการแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณสะท้อนกลับที่ได้ออกมาในรูปแบบภาพชนิดต่างๆให้เราได้เห็นทางชุดแสดงผล 
    โดยที่กลุ่มของลูกคลื่นที่ถูกส่งออกไปจะมีช่วงกว้างลูกคลื่น ( Pulse Width, ĩ ) ซึ่งเป็นค่าช่วงเวลาที่ใช้ในการส่งแต่ละลูกคลื่น มีหน่วยวัดเป็น ไมโครวินาที ( Micro second, µs ) ส่วนความกว้างของลำคลื่นเรดาร์ (Beam Width) เป็นมุมที่เบนออกจากแกนกลางของลำบีมคลื่นเรดาร์ (ในสัณฐานรูปกรวย) ที่ถูกส่งจากจานสายอากาศรูปทรงพาราโบลา โดยที่จะมีค่าความเข้มสัญญาณสูงสุดในแนวตั้งฉากกับจานสายอากาศ สำหรับระยะห่างกันของแต่ละลูกคลื่น ( Pulse Length, h )  ที่ถูกส่งออกไปจากจานสายอากาศจะมีความสัมพันธ์กับช่วงกว้างลูกคลื่น ( Pulse Width, ĩ ) ด้วย

สัญญาณคลื่นมีความแตกต่างกันตามชนิดของเรดาร์ เมื่อกระทบกับเป้าหมาย หรือวัตถุ ก็จะสะท้อนกลับมา สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะถูกประมวลผล เพื่อแสดงผลข้อมูลทำให้สามารถทราบลักษณะ และตำแหน่งของเป้าหมายได้  ซึ่งเรดาร์ตรวจอากาศที่มีช่วงคลื่นสั้น จะสามารถตรวจจับหยาดน้ำฟ้าที่มีขนาดเล็กๆได้ดีกว่าเครื่องเรดาร์ที่ช่วงคลื่นที่ยาว แต่จะถูกดูดกลืนได้มากและไม่สามารถทะลุผ่านเมื่อกลุ่มของหยาดน้ำฟ้ามีขนาดใหญ่และมีความรุนแรง เช่นเครื่องเรดาร์ชนิด C-Band มีความยาวคลื่น 5 เซนติเมตร สามารถตรวจจับกลุ่มฝนที่มีขนาดของเม็ดฝนที่มีขนาดเล็ก ที่เป็นฝนกำลังอ่อนตกเบาๆได้ดีกว่าเครื่องเรดาร์ชนิด S-Band ที่มีความยาวคลื่น 10 เซนติเมตร แต่เครื่องเรดาร์ชนิด S-Band จะสามารถตรวจจับกลุ่มฝนที่มีเม็ดฝนขนาดใหญ่และรุนแรงอย่างเช่นกลุ่มของ Severe Thunderstorms, Tornado หรือ Tropical Cyclone ได้ดีกว่า

ค่าสัญญาณที่สะท้อนกลับมายังจานสายอากาศ จะดีหรือไม่ดีมีปัจจัยอันเป็นผลกระทบ คือความยาวคลื่นเรดาร์ (Wave Lengthขนาด (Sizeรูปร่าง (Shapeสถานะ (Phaseของเป้า อุณหภูมิอากาศ (Temperatureเป็นต้น



ส่วนประกอบเครื่องเรดาร์



     TRANSMITTER

   •RECEIVER

   •ANTENNA

   •CONTROL UNIT

   •DATA PROCESSOR

   •MONITOR UNIT

              http://readingrat.net/pulse-radar-block-diagram/pulse-radar-block-diagram-the-wiring-diagram-2/


โดยจะมี
    Modulator => เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างคลื่นสัญญาณของเรดาร์ในแบบ Pulse ให้ออกมาตรงตามจังหวะของตัวควบคุมที่เรียกว่า Master timer
       Transmitter => เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นสัญญาณเรดาร์ (Radar pulse) ที่มีการผสมผสานเข้ากับคลื่นจากอุปกรณ์ที่เป็นตัวต้นกำเนิด เช่น Klystron, Magnetron หรือ Solid state เพื่อให้ได้สัญญาณคลื่นเรดาร์ที่มีกำลังสูงแล้วจึงถูกส่งจาก Transmitter ออกไปตรวจจับเป้าหมาย
       Waveguide => ลักษณะเป็นท่อโลหะ ทำหน้าที่นำคลื่นเรดาร์จาก Transmitter ผ่านไปยังจานสายอากาศ ขนาดของ waveguide ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะมีความสัมพันธ์กับค่าความถี่และความยาวคลื่นเรดาร์ โดยขนาดหน้าตัดเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น โดยในระบบเรดาร์นำ waveguide มาใช้แทนลวดทองแดงเพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีอัตราการสูญเสียพลังงานระหว่างการเดินทางของคลื่นน้อยกว่า
       Duplexer หรือ Transmit/Receive Switch => ทำหน้าที่เป็นตัวสวิทช์เครื่องรับ-ส่ง เลือกการทำงานสลับกันให้เครื่องเรดาร์ทำงาน
       Control Unit => เป็นProcessor ทำหน้าที่จัดการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องเรดาร์
      Antenna => เป็นจานสายอากาศ ทำหน้าที่ส่งกระจายคลื่นออกไปตามทิศทางที่กำหนดและรวบรวมสัญญาณคลื่นที่สะท้อนกลับมา โดยจานสายอากาศมีในหลายรูปแบบ เช่น Parabolic, Planar array
      Receiver => เป็นส่วนที่เป็นภาครับสัญญาณ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนกลับมาซึ่งจะมีค่าต่ำมากให้มีค่าพลังงานที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาประมวลผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
      Data Processor => เป็นชุดคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลของสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจากเป้ารวมทั้งจัดเก็บข้อมูล

      Monitor Unit => เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลการตรวจของเครื่องเรดาร์ อันประกอบด้วย หน่วยประมวลผล (processor) และชุดแสดงภาพ (Display) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้รับการประมวลแล้วออกมาเป็นผลผลิตชนิดต่างๆ



  การที่โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมดังนั้นพื้นผิวของโลกเราจึงมีความโค้ง ทำให้การเดินทางของลำคลื่นเรดาร์ ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีการเดินทางเป็นแนวโค้งที่ประมาณ 4/3 ของความโค้งผิวโลก ดังรูปที่ 1 จึงต้องมีการหักแก้ Radiation Factor เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level, MSL) เพื่อเป็นการหักแก้ให้แนวลำคลื่นเสมือนว่าเดินทางในแนวขนานกับพื้นผิวโลกมากที่สุด





                                 by http://weather.uprm.edu/newinterface/




 ในเขตโซนร้อนนั้นการตรวจจับสภาวะกลุ่มฝนที่ตกลงสู่พื้นดิน จะมีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ ใกล้เคียงค่าความเป็นจริง ที่ระยะทำการตรวจของเรดาร์ในรัศมีไม่เกิน 150 กิโลเมตร จากสถานีเรดาร์ตรวจอากาศ ภาพที่แสดงผลบนจอเรดาร์อาจจะมีการผิดเพี้ยนไปจากปรากฎการณ์จริงของสภาวะอากาศได้ ทั้งรูปร่าง ขนาด ระยะทาง ทิศทาง ตำแหน่ง ความสูง ความรุนแรง เนื่องมาจากสาเหตุสำคัญๆคือ ความกว้างของลำคลื่น (Beam Width) อัตราการหมุนจานสายอากาศ ระยะ(ขนาด)ของลำลูกคลื่น ความโค้งผิวโลก กำลังของเครื่องส่ง ระยะห่างของเป้า กระแสลมในชั้นบรรยากาศ เหล่านี้เป็นต้น
                ในการตรวจจับค่าสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจากเป้าที่คลื่นไปกระทบนั้น นักวิทยาศาสตร์ ได้นำหน่วยที่เรียกว่า”เดซิเบล” (dB) มาใช้เพราะว่าคลื่นเรดาร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อยู่ในย่านความถึ่ช่วงเดียวกับคลื่นเสียงนั่นเอง โดยที่อนุมาณว่าความแรงของสัญญาณคลื่นเรดาร์เป็นเช่นเดียวกับความดังของคลื่นวิทยุ 


ในการส่งคลื่นเรดาร์เดินทางไปในชั้นบรรยากาศจะถูกลดทอนความเข้มของสัญญาณจากการดูดกลืนจากสภาวะแวดล้อมในบรรยากาศ เช่น ไอน้ำ หรือละอองฝุ่นผง ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจน เป็นต้น ซึ่งสัญญาณคลื่นเรดาร์จะถูกลดทอน (Loss Signal) ไปโดยปกติเฉลี่ยที่ประมาณ 0.01 dB/km หรือ 1 dB/100 km 


โดยปกติแล้วค่าสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจากการกระทบเป้าของคลื่นเรดาร์จะมีกำลังอ่อนมาก ดังนั้นในการคำนวณหาค่าสัญญาณสะท้อนกลับ (Reflectivity)  จำเป็นต้องใช้สมการที่เป็นไปตามกฎ Inverse Square Law คือ
Z  =  Prx  + 20 log r C      มีหน่วย dB

เมื่อ   Ze   = Reflectivity
        Prx  = Receiver Power
        R     Range
                        C     Constant of Radar 



สามารถทำการแปลงให้เป็นหน่วยของ  dBZ  ตามนี้คือ

        dBZ  10 log(Ze)

การแปลงค่าสัญญาณ Reflectivity Effective ของเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศที่แสดงผลบนจอภาพจะสามารถแสดงได้ทั้งค่าที่เป็น Reflectivity และ Rain Rate ของเป้ากลุ่มฝน ตามความสัมพันธ์ในสมการเรดาร์พื้นฐาน คือ

Z  =  ARb


เมื่อ  
Z      =  Reflectivity
A, b  =  ค่าคงที่ (เครื่องเรดาร์สุวรรณภูมิ 200, b 1.6)
R      = อัตราการตกของฝน  ( มม./ชม.)
*ค่าของ และ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาวะฝนในแต่ละพื้นที่ เมื่อทำการศึกษาวิจัยถึงค่าที่เหมาะสมนำมาใช้เป็นค่ามาตรฐานอ้างอิงในสมการ



          ในการวัดค่าความแรงของสัญญาณสะท้อนกลับของกลุ่มฝน จะใช้ ความสัมพันธ์ตามสมการข้างต้น นำมาเทียบเคียงกับการรายงานเกณฑ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา ตามที่กำหนดไว้คือ

       ฝนกำลังอ่อน        มีอัตราการตกที่เกณฑ์    0.1-5. มม./ชม.
      ฝนกำลังปานกลาง                ”               5.1-25. มม./ชม.
      ฝนกำลังแรง(หนัก)               ”              25.1-50.0  มม./ชม.
      ฝนกำลังแรงมาก(หนักมาก)    ”              50.1-55.0  มม./ชม.

      ฝนรุนแรงถึงรุนแรงมาก มีลูกเห็บตก  ”    >55.-…    มม./ชม.


Doppler  Weather Radar
เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่งที่ใช้หลักการทางฟิสิกส์ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพื้นฐานซึ่งอยู่ในย่านความถี่ของคลื่นไมโครเวฟ ที่ความถี่ 300MHz -30GHz โดยคลื่นเรดาร์ที่ถูกผลิตขึ้นมาแล้วส่งออกไปจากจานสายอากาศในรูปแบบของ Pulse กระทบเป้าแล้วสะท้อนกลับมายังสายอากาศเข้าสู่เครื่องรับ (Receiver) จะคำนวณระยะห่างของเป้าที่พบได้จากสมการความสัมพันธ์ของระยะทางในการเคลื่อนที่กับเวลา คือ
        
             R  =  t/2

เมื่อ        R   = ระยะห่างของเป้า
              c   = ความเร็วคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีค่า 3 x 10m/s
 t  =  เวลาที่ใช้ในการเดินทางของลูกคลื่น (Pulse) ไป-กลับ

        ดอปเปลอร์เรดาร์ (Doppler Radar) มีคุณสมบัติที่เด่นชัดคือส่วนของข้อมูลชนิด Velocity  กับ Spectrum Width (Spectrum WidthSW เป็นการแสดงค่าการเปลี่ยนแปลงของความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นเรดาร์ในรูปแบบ Velocity Curve เทียบกับค่ามาตรฐานกลางเฉลี่ย (Standard DeviationSD) ซึ่งนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์สภาวะที่เกิดปรากฏการณ์ Windshear และ Turbulence  จากการเปลี่ยนแปลงของระยะกว้างของช่วงคลื่นเบี่ยงเบนไปจากค่า Normal Distribution Curve หรือที่เรียกว่า “Gaussian Distribution Curve” เป็นตัวบ่งชี้ลักษณะการเกิดสภาวะปั่นป่วน (Turbulence) ในกลุ่มเซลพายุฝนฟ้าคะนอง
            การเคลื่อนที่ของคลื่นเรดาร์ในบรรยากาศความเร็วของคลื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยประมาณที่ 0.03% ตามการเปลี่ยนแปลงความสูง 
ความสัมพันธ์กันระหว่างช่วงเวลาในการเดินทางของลูกคลื่นเรดาร์ (pulse) ในแต่ละลูกคลื่น ของแต่ละความถี่ที่ใช้ เช่นกรณีของ Short Pulse ที่มี PRF 600 Hz (Pulse/Sec) ถ้าเครื่องเรดาร์กำหนดให้จานสายอากาศมีอัตราการหมุน รอบ/นาที เท่ากับว่าจะส่งคลื่นออกไปได้จำนวน 36000 Pulse/Min. หรือ รอบละ18000 Pulse ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันกับจำนวนลำรังสี (Ray Beam)ของคลื่นที่ส่งออกไป ในแต่ละรอบการหมุนของจานสายอากาศ แล้วนำมาคำนวณหาค่าของ จำนวนSamples ของสัญญาณเพื่อให้ได้ค่าสะท้อนกลับที่มีคุณภาพดีที่สุดต่อไป 
โดยที่   Ray Width x PRF   =   Sample x Antenna Rate
  ใน Pulse Doppler Radar System บางครั้งก็เกิดมีภาพแปลกปลอมขึ้นมาได้ เนื่องจากเป้าตรวจจับมีตำแหน่งอยู่นอกระยะของลูกคลื่น (Pulse Range) ของเครื่องเรดาร์ที่ส่งออกไป แต่เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการปรับค่าของระยะห่างของแต่ละลูกคลื่นที่ถูกส่งออกไป ตามเทคนิควิธีที่เรียกว่า “Unambiguous Range” เพื่อใช้ปรับแก้ระยะของลูกคลื่นให้ได้ค่าตรงตามระยะเป้าที่ตรวจจับ

   Doppler  Frequency of Target







             ในการส่งคลื่นเรดาร์จากเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศใน 1 ลูกคลื่น ( Wave Form ) อาจจะมีได้ถึง 4-5 cycles ของ Doppler Frequency ที่สะท้อนกลับมาต่อเนื่องกันเป็นลักษณะ Continuous Wave Echoจากการส่งคลื่นเรดาร์ออกไปในแต่ละ Pulse    ซึ่งจากลักษณะเช่นนี้จึงทำการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงไปของสัญญาณคลื่น ที่เป็นไปตามลักษณะของปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Doppler Effected มาประยุกต์ใช้ในการวัดผลการตรวจเรดาร์ในโหมดของ Velocity


รูปแบบการตรวจเรดาร์

มี 2 รูปแบบ คือ

  1. การตรวจในระนาบตามแนวรัศมีตามมุมยกของจานสายอากาศ เรียกว่าแบบ PPI (Plan Position Indicator)


  2. การตรวจในแนวดิ่งตามมุมก้ม-เงย ของจานสายอากาศ    ที่ตำแหน่งทิศองศามุมคงที่ เรียกว่าแบบ RHI (Range Height Indicator)



                                                                                      (credit Delft University)
https://iradanhujan.wordpress.com/2016/05/25/catatan-jikken-cloud-microphysic-monitoring/

  
 ข้อมูลจากการตรวจเรดาร์


 INTENSITY แสดงค่าความเข้มสัญญาณสะท้อนกลับของเป้า มี 2 ชนิดคือ
  -Reflectivity ในหน่วยเดซิเบล (dBz)
  -Rain Rate ในหน่วย มิลลิเมตร/ชั่วโมง (mm/hr)
RADIAL VELOCITY แสดงการเคลื่อนตัวของอนุภาคของเป้าที่ตรวจจับได้ในแนวลำบีมของสัญญาณเรดาร์ ใน2 ลักษณะคือ
  Toward =>อนุภาคเคลื่อนที่เข้าหาสถานีเรดาร์
  - Away =>อนุภาคเคลื่อนที่ออกจากสถานีเรดาร์
 SPECTRUM WIDTH แสดงค่าการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบคลื่น (Wave Form ) ของสัญญาณดอปเปลอร์ที่เปลี่ยนไปจากรูปแบบปกติ

ผลิตผลหลักของภาพจากเรดาร์ตรวจอากาศ

PPI (Plan Position Indicator )
RHI (Range Height Indicator )
CAPPI (Constant Altitude Plan Position Indicator )
TOPS (Echo Tops )
LRA (Layer Reflectivity Average )
VIL (Vertical Integrated Liquid )
CMAX (Column Maxima )
BASE (Base Section )

              ภาพผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์จะแสดงผลให้เราได้เห็นไม่ใช่เฉพาะหยดน้ำฝนเท่านั้นแต่ยังมีสิ่งอื่นๆที่อยู่ในอากาศเหนือพื้นดินที่สามารถตรวจจับได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝูงแมลง ฝูงนก
              สำหรับกลุ่มฝนนั้นภาพจากผลการตรวจอากาศด้วย Doppler Radar   สามารถแสดงค่าการสะท้อนกลับของคลื่นเรดาร์ได้หลากหลายชนิดทั้งในแบบแสดงความเข้มของสัญญาณ (dBZแสดงค่าเป็นอัตราความแรงการตกของฝน ( mm/hr )  แสดงทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝน ผู้ใช้ข้อมูลภาพเรดาร์จำเป็นต้องทราบความหมายอย่างชัดเจน 

          การแปลภาพผลการตรวจเรดาร์ โดยทั่วไปเป้าที่เป็นกลุ่มฝนจะมีรูปร่างที่มีเฉดสีต่อเนื่องเป็นกลุ่มก้อนไล่ลำดับกันไปตามค่าความเข้มของสัญญาณที่สะท้อนกลับจากเป้าที่กระทบ มีการแบ่งตามสเกลที่กำหนดเป็นเกณฑ์ตามกำลังความแรงการตกของฝน มีลำดับจาก ฝนกำลังอ่อนไปจนถึงฝนกำลังแรงมาก


        



                                          ภาพผลการตรวจเรดาร์ชนิดCAPPI (สถานีเรดาร์ฝนหลวง สัตหีบ)


         -จากภาพด้านบนแสดงค่าสัญญาณเรดาร์ตรวจจับเป้ากลุ่มฝนที่ปรากฏเมื่อพบบริเวณที่ค่าความแรงของสัญญาณมีความเข้มสีแดง-ม่วงบริเวณในตอนกลางด้านในสุดของเซลล์ฝน แสดงค่าสูงถึง ประมาณ 50 dBZ วิเคราะห์ได้ว่าเป็นบริเวณที่เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากและมีพายุฝนฟ้าคะนอง ที่มีความรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่าได้



         -การตรวจแบบ RHI เพื่อการติดตามและวิเคราะห์กลุ่มฝนฟ้าคะนองที่อยู่ในความน่าสนใจ ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ถึงคุณลักษณะภายในของเซลล์ฝนฟ้าคะนอง


https://www.eoas.ubc.ca/courses/atsc201/A201Resources/RadarStormInterpTutorial/RadarReflectInterp.html



 การตรวจ RHI นอกจากจะตรวจลักษณะที่เกิดขึ้นขึ้นภายในเซลล์พายุฝนฟ้าคะนองแล้วยังสามรถตรวจจับแนวกระแสลมกระโชกด้านหน้าของเซลล์ฝนฟ้าคะนอง  (Gust Front Line ) ได้อีกด้วย  จากภาพด้านล่าง จะพบว่่ามีพายุฝนฟ้าคะนองที่มีค่าสัญญาณกำลังแรงสูงถึงมากกว่า 50 dBZ  ดังเห็นได้จากแกนกลางของภาพ RHI ด้านล่าง  แสดงให้ทราบถึงการเกิดฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงและมีลูกเห็บตกสู่พื้นดิน พร้อมกับกระแสลมแรงพัดลงด้านหน้าเซลล์




                                http://faculty.luther.edu/~bernatzr/Courses/Sci123/comet/radar/severe_signatures/print_50dBZ.htm




              การดูภาพเรดาร์ได้อย่างเข้าใจในหลักการทำงานของเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศสามารถช่วยให้เราวิเคราะห์สภาวะของอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถคาดหมายสภาวะอากาศในช่วงระยะเวลาใกล้ๆใน 1-2 ชั่วโมงข้างหน้าได้ถูกต้องแม่นยำตามสภาพอากาศที่จะเกิดมากยิ่งขึ้น

               เรดาร์ตรวจอากาศที่ใช้กับภารกิจด้านอากาศการบิน ปกติมักจะเป็นเรดาร์ชนิดดอปเปลอร์ที่ติดตั้งเพื่อตรวจวัดสภาวะอากาศที่ร้ายแรงที่จะเข้ามากระทบพื้นที่เขตสนามบิน เพื่อช่วยในการออกคำเตือนเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของทั้งพนักงานภาคพื้นและอากาศยานที่ทำการบินขึ้น-ลงที่สนามบิน 

          ในการตรวจ-ติดตามสภาวะกลุ่มฝนด้วยเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ สามารถนำผลจากการตรวจมาวิเคราะห์เพื่อการพยากรณ์อากาศในระยะปัจจุบัน (Now Cast) ภายในช่วงเวลา 1-3 ชั่วโมงข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภารกิจของอุตุนิยมวิทยาการบิน ในการแจ้งเตือนลักษณะอากาศรุนแรงที่มีสาเหตุจากการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง อันมีผลกระทบในการขึ้น-ลงของอากาศยานที่สนามบิน
             ลักษณะอากาศที่รุนแรงและก่อให้เกิดผลกระทบต่อการนำเครื่งบินขึ้ง-ลงที่สนามบินที่เด่นชัด ก็มีเช่น กระแสลมกระโชกแรงพัดขวางแนวทางวิง wind shear Turbulence รวมถึงฟ้าผ่าที่มาจากพายุฝนฟ้าคะนองที่มีกำลังรุนแรง 

             Weather RADAR สามารถแสดงค่าการตรวจวัดออกมาได้ทั้งในรูปแบบของค่าความเข้มของสัญญาณสะท้อนกลับ ในหน่วย เดซิเบล (dBZ) และค่าอัตราความแรงการตกของหยดน้ำฝน ในหน่วย มิลลิเมตรต่อช่ัวโมง (mm/hr)



                              ภาพผลการตรวจเรดาร์ชนิดPPI (สถานีเรดาร์หนองจอก/กทม.)
         การแปลภาพผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์ โดยทั่วไปเป้าที่เป็นกลุ่มฝนจะมีรูปร่างที่มีเฉดสีต่อเนื่องเป็นกลุ่มก้อนไล่ลำดับกันไปตามค่าความเข้มของสัญญาณที่สะท้อนกลับจากเป้าที่กระทบ มีการแบ่งตามสเกลที่กำหนดเป็นเกณฑ์ตามกำลังความแรงการตกของฝน มีลำดับจาก ฝนกำลังอ่อนไปจนถึงฝนรุนแรงมาก โดยที่มีเกณฑ์อย่างหยาบๆที่เข้าใจได้ง่ายคือ บริเวณด้านในตรงกลางของเซลล์กลุ่มฝนจะมีความแรงมากที่สุดแล้วไล่ลำดับกันมาตามเฉดสี มีการแปลความหมายผลการตรวจจากภาพชนิด PPI แบบ Intensity ได้ดังนี้คือ 
          ช่วงสีเขียว-เหลือง= ฝนกำลังอ่อนหรือฝนเบาถึงฝนกำลังปานกลาง
          ช่วงสีเหลืองส้ม-แดง = ฝนกำลังปานกลางถึงฝนกำลังแรงหรือฝนหนัก
          ช่วงสีแดงเข้ม-ม่วง = ฝนกำลังแรงถึงฝนกำลังรุนแรงหรือฝนหนักถึงฝนหนักมาก(มักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองหรือลูกเห็บตกด้วย)
          ช่วงสีม่วง-ขาวชมพู  = ฝนกำลังรุนแรงถึงรุนแรงมากและมีลูกเห็บตก


ภาพผลการตรวจเรดาร์ชนิด PPI Reflectivity
       
          สำหรับภาพผลการตรวจในแบบ Radial Velocity ก็จะมีความแตกต่างออกไป โดยจะเป็นภาพที่แสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคหยดน้ำหรือวัตถุต่างในอากาศตามแนวลำรังสีคลื่นเรดาร์ (Beam) โดยแสดงทั้งทิศทางและความเร็ว ด้วยเฉดสีแบ่งด้วยโทนสีเย็น (น้ำเงิน) แสดงถึงแนวทิศทางการเคลื่อนที่เข้าหาสถานีเรดาร์ และสีโทนร้อน (แดง) แสดงถึงแนวทิศทางการเคลื่อนที่ออกจากสถานีเรดาร์






                                    ภาพผลการตรวจเรดาร์ชนิด PPI Radial Velocity

          นอกจากแสดงให้เห็นแนวทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนที่แล้ว ยังสามารถแสดงลักษณะของกระแสลมภายในของเซลล์กลุ่มฝนนั้นๆด้วยว่าเกิดการหมุนวนหรือมี Wind shear  Microburst โดยวิเคราะห์เพื่อการแจ้งเตือนภัยอันตรายให้แก่อากาศยานบริเวณเขตสนามบินที่จะทำการบินขึ้น-ลง ได้อย่างปลอดภัย
(เพิ่มเติม "Weather Radar_ppt_may60 ด้านล่าง


1 ความคิดเห็น:

เวลา 11 มิถุนายน 2560 เวลา 15:08 , Blogger BANCHA กล่าวว่า...

หากมีสิ่งใดผิดพลาด ช่วยชี้แนะ ติติงมาได้เลยครับ

 

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก